ว่ากันด้วยเรื่อง หม้อๆ

“หม้อ หมายถึง ภาชนะประเภทหนึ่ง มีรูปทรงต่าง ๆ สำหรับใส่ของหรือใช้งานบางอย่าง
เรียกตามสิ่งที่ใช้ทำก็มี เช่น หม้อดิน หม้อทองเหลือง หม้ออะลูมิเนียม,
เรียกตามสิ่งที่บรรจุก็มี เช่น หม้อข้าว หม้อน้ำมนต์,
เรียกตามวัตถุประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หม้อตุ๋น หม้อนึ่ง

สำหรับคำว่า “หม้อแปลงไฟฟ้า” คาดว่าในสมัยก่อน คนไทยเรียกตามรูปทรงภายนอกที่คล้ายภาชนะบรรจุ (หม้อ) รวมกับวัตถุประสงค์ที่ใช้สอย (แปลงแรงดันไฟฟ้า) จนกลายมาเป็น “หม้อแปลงไฟฟ้า” ที่ใช้เรียกกันอยู่ทุกวัน และในวงการผลิต หากเรียกเจาะจงประเภทมากขึ้น ยังจะพบคำว่า “หม้อน้ำมัน” “หม้อแห้ง” “หม้อรั่ว ” สารพัดหม้อกันเลยทีเดียว

หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อแรกในไทยเกิดขึ้นตอนไหนไม่มีบันทึกที่แน่ชัด แต่คาดว่าเริ่มมีใช้หลังจากหลวงพินิจจักรภัณฑ์ได้ก่อตั้งบริษัท บางกอก อิเล็กตริกไลท์ ซินดิเคท (The Bangkok Electric Light Syndicate) ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ.2440 หลังจากนั้นมีการสร้างโรงไฟฟ้าอีกหลายโรงตามมา เช่น โรงไฟฟ้าวัดเลียบ พ.ศ. 2441, โรงไฟฟ้าสามเสน พ.ศ.2457 และโรงไฟฟ้าตามหัวเมืองต่าง ๆ ทำให้หม้อแปลงไฟฟ้ามีบทบาทและใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น

ปัจจุบันไฟฟ้าที่เราใช้ ส่วนมากถูกผลิตมาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) มีแรงดันประมาณ 10-20kV. เท่านั้น ทำให้ไม่เหมาะต่อการส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล ดังนั้น กฟผ. จึงต้องแปลงแรงดันให้สูงขึ้นด้วยหม้อแปลง Step up จนมีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 115-500 kV ส่งผ่านระบบไฟฟ้าแรงสูง (Transmission system) ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จากนั้นทั้งสองการไฟฟ้าจะลดแรงดันลงมาด้วยหม้อแปลงไฟฟ้า Step down จนเหลือแรงดันช่วง 69-115 kV เพื่อกระจายไปสู่ Substation และลดแรงดันลงอีกครั้งที่ Substation จนเหลือ 24 kV ในพื้นที่ของ กฟน. 22 kV ในพื้นที่ของ กฟภ. (33 kV ใช้ใน กฟภ. ภาคใต้ จ.ระนองลงไป) ทีนี้แหล่ะพระเอกของเรา “QTC Distribution
Transformer” จะทำหน้าที่ปรับแรงดันจาก 22, 24, 33 kV ให้เหลือ 416 V (3 Phase) หรือ 240 V. (1 Phase) เข้าสู่โรงงาน อาคาร บ้านพักอาศัย หากแรงดันที่จ่ายออกมาสูงหรือต่ำกว่าที่ต้องการ เรายังสามารถปรับแรงดันชดเชยได้โดยปรับ Tap Changer ที่ “ฝาหม้อ” ถ้าอยากดู Nameplate สมารถดูได้ที่ “ข้างหม้อ” แต่ Logo QTC ทุกคนสามารถดูได้ ที่ “……..หม้อ”
ลองไปดูกันนะ…..

คิดถึงหม้อแปลง คิดถึง คิวทีซี

อ้างอิง[1] พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. หมอ [ออนไลน์]. 2554. แหล่งที่มา :
https://dictionary.apps.royin.go.th/ [8 กันยายน 2563] [2] การไฟฟ้ฝ่ายผลิตแห่ประเทศไทย. ประวัติกิจการไฟฟ้าไทย [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
https://www.egat.co.th/index.php?option=comconten t&view=article&id=11 & ltemid=152 [8 กันยายน 2563]