” ผู้มีส่วนได้เสียกับคิวทีซี ”
บริบทองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียของคิวทีซี
การทบทวนบริบทองค์กรดำเนินการปีละ 1 ครั้งโดยคณะกรรมการส่งเสริมความยั่งยืนองค์กรฯ พิจารณาทบทวนทุกกิจกรรมในธุรกิจของคิวทีซีรวมบริษัทย่อยทุกแห่ง และบริษัทร่วมทุนที่คิวทีซีมีอำนาจบริหารจัดการมากกว่า 50% ครอบคลุมมิติ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยในรอบปี2565 คิวทีซีได้มีการพิจารณาเพิ่มจำนวนคู่ค้ารายใหม่ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ทันเวลา และมีการพิจารณาเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานไฟฟ้าจาก Vendor ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสร้างช่องทางรายได้ในธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน และการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งบังคับใช้ในทุกกิจกรรมทางธุรกิจ พร้อมทั้งมีการปรับจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าของคิวทีซีเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสียของคิวทีซีในห่วงโซ่คุณค่ามีดังนี้
Value Chain of Business
การชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นผลกระทบ
จากการทบทวนบริบทขององค์กรแล้ว คณะกรรมการส่งเสริมความยั่งยืนองค์กรฯ ได้ดำเนินการทบทวนผลกระทบในกระบวนการตลอดห่วงโซ่คุณค่าครอบคลุมทุกกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสีย และสาระสำคัญ โดยผ่านกระบวนการชี้บ่งอันตรายจากการทำงาน การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งจากกระบวนการทำงานและผลิตภัณฑ์แบบ Life Cycle การประเมินผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการชี้บ่งด้วยการระดมสมอง เป็นการประเมินแบบสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
นอกจากการประเมินแบบภายในองค์กรแล้ว บริษัทฯ ยังกำหนดให้จัดเวที เสวนาประชาคม ชุมชนพบคิวทีซี ขึ้นปีละ 1 ครั้งในการรับฟังข้อเสนอแนะจากชุมชน และคู่ค้า การพบปะผู้นำชุมชนหรือองค์กรในชุมชนโดยการลงพื้นที่ การเข้าพบปะรับฟังข้อเสนอแนะจากลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงการพิจารณาข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียในช่องทางอื่น ๆ เช่นการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นฯ การแสดงความคิดเห็นจากหน้าเว็ปไซด์ ข้อร้องเรียนจากลูกค้า เป็นต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการชี้บ่งประเด็นด้านความยั่งยืน และกำหนดผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร
โดยใช้เกณฑ์พิจารณากลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของคิวทีซีทั้งหมด โดยในปี 2565 กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องยังคงเป็นกลุ่มเดิมแต่มีการเพิ่มจำนวนของผู้มีส่วนได้เสียขึ้นมาตามการเติบโตขององค์กร
ผังแสดงการชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสีย และประเด็นผลกระทบ
การดำเนินงานกับความคาดหวัง/ความกังวลของผู้มีส่วนได้เสีย
ผลจากการชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ และวิเคราะห์สาระสำคัญของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสีย จะนำมาหาความคาดหวัง/ความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียจากหลาย ๆ ช่องทาง เช่นการสอบถามทางตรง การประชุมร่วม การรวบรวมข้อมูล ข้อกำหนดของกฎหมาย ฯลฯ และกำหนดเป็นวิธีตอบสนองความคาดหวัง/ความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมทุกกลุ่มดังนี้
ตารางแสดงความเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ ต่อความคาดหวัง/ความกังวล และการตอบสนองขององค์กร
การคัดเลือกสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
หลังดำเนินการชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสียและประเมินผลกระทบ พร้อมทั้งการค้นหาความคาดหวังและความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทรวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่บริษัทดำเนินการอยู่เพื่อตอบสนองความคาดหวังหรือความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียแล้วนั้น คณะกรรมการส่งเสริมความยั่งยืนองค์กรฯ ได้นำผลกระทบมาจัดลำดับเพื่อคัดกรองผลกระทบที่มีสาระสำคัญที่สุดสำหรับการรายงานต่อผู้มีส่วนได้เสีย
กระบวนการกำหนดหัวข้อที่เป็นสาระสำคัญ
1. การระบุสาระสำคัญและประเมินผลกระทบ : พิจารณาที่มาของข้อมูลเริ่มต้นจากบริบทขององค์กรและข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในเรื่องที่ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มให้ความสำคัญ หรือเป็นความคาดหวัง หรือความกังวล ที่อาจเกิดผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน โดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม , ด้านความปลอดภัยฯ, ด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการอื่น ๆ
• ภายในองค์กร : การประชุมระดับบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมความยั่งยืน, คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจและเป้าหมายองค์กร การประชุมระดับปฏิบัติการของคณะกรรมการสวัสดิการ, คณะกรรมการความปลอดภัยฯ, การรวบรวมประเด็นที่ได้จากการวัดผลความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร, ประเด็นที่ได้จากผลสำรวจระดับความสุขของพนักงานในองค์กร และตู้รับความคิดเห็น โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการประชุม และผลสำรวจ รวมถึงข้อเสนอแนะของพนักงานในแต่ละวาระ มาวิเคราะห์ข้อมูลความคาดหวัง/ความกังวลด้านความยั่งยืนทั้งต่อพนักงานและองค์กร เพื่อกำหนดเป็นหัวข้อสาระสำคัญ
• ภายนอกองค์กร : ทบทวนประเด็นด้านความยั่งยืนเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียจากการประชุมผู้ถือหุ้น,การประชุมคณะกรรมการบริษัท, การพบปะเยี่ยมเยือนลูกค้า, ข้อร้องเรียนจากลูกค้า, ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้า,เวทีเสวนาประชาคม ชุมชนพบคิวทีซี, การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่คุณค่า,แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กฎหมาย หรือกฎระเบียบต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นความคาดหวัง/ความกังวล ข้อเสนอแนะต่างๆ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบสอบถาม การพูดคุยทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การวิเคราะห์ข้อมูลความคาดหวัง/ความกังวล เพื่อกำหนดเป็นหัวข้อสาระสำคัญ
2. การจัดลำดับสาระสำคัญ: นำหัวข้อสาระสำคัญเหล่านั้นมาให้น้ำหนักโดยวิธีการประเมินและให้น้ำหนักตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดโดยพิจารณาประเด็นสำคัญแบ่งออกเป็น 5 ช่วงคะแนนตามระดับความสำคัญ โดยจะนำระดับ “สำคัญ” “สำคัญมาก” และ “สำคัญมากที่สุด” ไปรายงาน
3. การทวนสอบสาระสำคัญ : คิวทีซีได้ทวนสอบหัวข้อสาระสำคัญด้านความยั่งยืนซึ่งในปี2565 ยังมีหัวข้อสาระสำคัญเพิ่มขึ้นมาได้แก่ มีจริยธรรม-โปร่งใส ,การปฏิบัติตามกฎหมาย, การควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล, ต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งแต่เดิมหัวข้อสาระสำคัญดังกล่าวถูกรายงานไว้ในหัวข้อการกำกับดูแลกิจการ แต่ในปี2565 มีการตกลงให้แยกหัวข้อสาระสำคัญ
ออกมาประเมินให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งผลมาจากความคาดหวังและความกังวลของผู้มีส่วนได้เสียที่ให้ความสำคัญมากขึ้น และความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ อย่างไรก็ดีหัวข้อสาระสำคัญที่เพิ่มขึ้นมานี้ได้จัดกลุ่มให้อยู่ในหัวข้อใหญ่“การกำดับดูแลกิจการ” เพื่อให้การรายงานมีเนื้อหาสาระที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ได้ทวนสอบกับหัวข้อสาระสำคัญใน GRI SectorStandards แล้วซึ่งพบว่ากิจกรรมในธุรกิจของ QTC ไม่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะสามารถนำสาระสำคัญมารายงานได้โดยหัวข้อสาระสำคัญนี้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้บริษัทฯ ยังไม่มีแผนใช้หน่วยงานอิสระภายนอกเข้ามายืนยันกระบวนการประเมินฯ
หัวข้อสาระสำคัญด้านความยั่งยืน
กลยุทธ์หลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้วยวิสัยทัศน์องค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็น “World Class” และวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นความประณีต “Quality of Details”ร่วมกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทฯได้วางกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจโดยผ่านกระบวนการบริหารความเสี่ยง การประเมินผลกระทบของผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถติดตามและประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานครอบคลุมมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environment ,Social ,Governance) และส่งต่อเป้าหมายสู่การปฏิบัติไปยังผู้บริหารและพนักงานอย่างทั่วถึง ภายใต้สมการความยั่งยืนของคิวทีซี “Quality + Responsibility = Sustainability” กลยุทธ์หลักในการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีดังนี้
© 2023 QTC ENERGY All rights reserved.